นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีนเผยแพร่ผลการศึกษาเกี่ยวกับวัสดุชนิดใหม่ ซึ่งถูกพัฒนาให้สามารถดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์ตอนกลางวัน และปลดปล่อยพลังงานสู่นอกโลกเพื่อเก็บเกี่ยวความเย็นตอนกลางคืน
.
รายงานระบุว่า ฐานของวัสดุเคลือบนี้คือฟิล์มวาเนเดียมไดออกไซด์ (VO2) และการเปลี่ยนจากโหมดความร้อนเป็นโหมดความเย็นตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ได้ก่อต้นทุนทางพลังงานเพิ่มเติม
.
ฟิล์มวาเนเดียมไดออกไซด์ ซึ่งมีคุณสมบัติปรับตัวเองได้ อยู่ในรูปโลหะและสามารถทนความร้อนสูงเหนืออุณหภูมิโดยรอบภายใต้แสงอาทิตย์ถึง 170 องศาเซลเซียส ส่วนตอนกลางคืน ฟิล์มวาเนเดียมฯ เปลี่ยนแปลงเป็นฉนวนและสามารถเย็นตัวต่ำกว่าอุณหภูมิโดยรอบ 20 องศาเซลเซียส
.
การศึกษานี้นำเสนอแนวทางใหม่ของการเก็บเกี่ยวพลังงานหมุนเวียนจากแสงอาทิตย์และนอกโลก โดยเผยกล่าวว่าการเก็บเกี่ยว “ความร้อนและความเย็น” ในโครงสร้างเดี่ยวช่วยประหยัดพื้นที่และลดต้นทุน
.
วัสดุใหม่นี้อาจใช้ในการอนุรักษ์พลังงานของสิ่งปลูกสร้าง ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ทำความเย็น เทอร์โมอิเล็กทริกส์ และการจัดหาพลังงานในนอกโลก นอกจากนั้นเผยระบุว่าข้อกังวลของการใช้วัสดุนี้คือต้นทุนสูง ทว่าอาจมีการผลิตวัสดุทดแทนที่มีเทคนิคคล้ายคลึงกันแต่ประสิทธิภาพต่ำกว่าในอนาคตอันใกล้
.
อนึ่ง ผลการศึกษาข้างต้นถูกเผยแพร่ทางออนไลน์โดยวารสารโพรซีดิงส์ ออฟ เดอะ เนชันนัล อะคาเดมี ออฟ ไซเอนเซส (Proceedings of the National Academy of Sciences)