ลุงตู่รู้ยัง! กระทรวงการท่องเที่ยวต้องขยับบ้างแล้ว หลังไทยติด TOP 10 ประเทศสุดอันตรายต่อนักเดินทางเพศหญิง ตัดเกรดจากความปลอดภัยบนถนน การฆ่าผู้หญิง ความรุนแรงทางเพศ-ข่มขืน ความไม่เท่าเทียม และความรุนแรงต่อสตรี
.
ผลการสำรวจดังกล่าว เป็นข้อมูลจากการสำรวจประเทศทั้งหมด 50 ประเทศที่เป็นที่ท่องเที่ยวยอดนิยมตามรายงาน Travel Industry Association พบว่าในหนึ่งปีมีผู้หญิงอเมริกันประมาณ 32 ล้านคนเดินทางคนเดียว ซึ่งการเดินทางไม่ว่าจะตัวคนเดียวหรือแบบกลุ่มความปลอดภัยเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญสำหรับใช้เลือกสถานที่ท่องเที่ยว
.
Women’s Danger Index ดัชนีการจัดอันดับประเทศที่เป็นอันตรายที่สุดสำหรับนักเดินทางหญิงที่เดินทางด้วยตัวเอง โดยนักข่าวสองสามี ภรรยาที่ชื่อ Asher และ Lyric Fergusson ที่ทำการศึกษาและจัดอันดับซึ่งเลือกจากประเทศที่ได้รับความนิยมในการเดินทางมากที่สุด 50 ประเทศ
.
โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิงที่เดินทางท่องเที่ยวด้วยตัวเองหรือเพื่อนผู้หญิงด้วยกัน ก็จะพบว่ามีข่าวน่าสลดใจให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง เช่น นักเดินทางแบบแบกแพคชาวเยอรมันวัย 26 ปี ที่ถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยมในประเทศไทย หรือ ข่าวนักเดินทางสองสาวชาวสแกนดิเนเวียที่ถูกตัดศีรษะในโมร็อกโก
.
ซึ่งดัชนี Women’s Danger Index ใช้เกณฑ์ในการพิจารณาให้คะแนนด้วยกัน 8 ข้อดังนี้
.
ความปลอดภัยบนท้องถนนสำหรับสตรี
.
การฆาตกรรมโดยเจตนาของสตรี
.
ความรุนแรงทางเพศที่ไม่ใช่คู่ครอง
.
ความรุนแรงทางเพศจากคู่รักที่ใกล้ชิด
.
การเลือกปฏิบัติทางกฎหมาย
.
ดัชนีช่องว่างระหว่างเพศระดับโลก
.
ดัชนีความไม่เท่าเทียมทางเพศ
.
และทัศนคติความรุนแรงที่มีต่อผู้หญิง
.
ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าประเทศดัชนีอันตรายสำหรับผู้หญิงนี้ นอกจากจะวัดผลจากอันตรายทางกายภาพแล้วยังรวมถึงทัศนคติและความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมระหว่างเพศอีกด้วย
.
โดยรายชื่อประเทศที่ถูกจัดว่าเป็นอันตรายสำหรับนักเดินทางผู้หญิง 10 อันดับแรก มีดังนี้
.

  1. แอฟริกา
  2. บราซิล
  3. รัสเซีย
  4. เม็กซิโก
  5. อิหร่าน
  6. โดมินิกัน
  7. อียิปต์
  8. โมร็อกโก
  9. อินเดีย
  10. ไทย
    .
    สำหรับประเทศแอฟริกาใต้ที่อยู่ในอันดับ 1 ของการสำรวจนี้พบว่า ผู้หญิงแอฟริกาใต้เพียง 25% เท่านั้นที่กล่าวว่ารู้สึกปลอดภัยเมื่อเดินคนเดียวในตอนกลางคืน และกว่าของผู้หญิง 40% ระบุเคยผ่านประสบการณ์การถูกข่มขืนมาแล้ว
    .
    ซึ่งข้อมูลที่น่าตกใจที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยจากรายงานพบว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างภายในครอบครัวหรือคู่รักสูงเป็นอันดับสองจากทั้งหมด 50 ประเทศ โดย พบว่ามีสถิติความรุนแรงอยู่ที่ 44% โดยผู้หญิงถึง 61% เห็นด้วยกับความรุนแรงในบางสถานการณ์นั้นถือว่ามีความสมเหตุสมผล ซึ่งเป็นตัวเลขสูงที่สุดในบรรดาประเทศทั้งหมดที่ทำการสำรวจ
    .
    ส่วน 10 ประเทศที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับผู้หญิง ประกอบด้วย สเปน สิงคโปร์ ไอร์แลนด์ ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส โครเอเชีย แคนาดา และโปแลนด์ ตามลำดับ