จากกรณี #ดราม่า #กินปู ของ #ม้าอรนภา เจ้าตัวจ่อบินกลับไทย เตรียมแถลงนัดนักข่าวพรุ่งนี้ ด้านทนายดังชี้ ความผิด “ลหุโทษ” อาจใช้ฟ้องในประเทศไม่ได้!?
.
ดราม่ากินปูของ “ม้า- อรนภา กฤษฎี” ที่ถูกเปิดเผยโดย ทนายษิทรา เบี้ยบังเกิด โดยระบุว่า นักแสดงรุ่นใหญ่ลายครามตบดารารุ่นน้องเหตุเพราะไม่กินปู ทั้งที่ดาราหนุ่มคนนั้นบินไป “อัพหน้า” ในฐานะ “ลูกค้า” ที่ “ม้า” ได้เปอร์เซ็นต์จากคลินิกเสริมความงามในฐานะ “นายหน้า” ที่พาคนไปใช้บริการศัลยกรรมความงาม แต่เหตุการณ์เดือดเกิดขึ้นแถมมีคลิปตบให้เห็นชัดเจน ของบุคคลหนึ่งต่อบุคคลหนึ่งที่ถือถุงช้อปปิ้งแบ็คพะรุงพะรังจนกลายเป็นดราม่าชามโตของสังคมไทย
.
ทำให้ “ม้า อรนภา” ต้องออกมาชี้แจงเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับช่องอมรินทร์ทีวีผ่านทางโทรศัพท์ว่า เรื่องที่ทนายออกมาแฉเขียนเกินไปอย่างใช้คำว่าตบ โดยเรื่องราวดังกล่าวก็การปรับความเข้าใจจบแล้ว
.
ล่าสุด “ม้า” โพสต์ในเฟซบุ๊ก Ornapa Krisadee ขณะอยู่เกาหลี พร้อมระบุว่า ได้ข่าวว่าน้องๆ นักข่าวจะไปรอพี่ม้าที่สนามบินวันที่ 29 พ.ย. เครื่องลงดึกมาก น้องๆ อย่ามารอเลยนะคะ มาพบกันวันที่ 30 พ.ย.ตอนบ่ายสาม ที่ MYT Studio กรุงเทพกรีฑานะคะ พี่พร้อมคุยกับทุกคนค่ะ ขอบคุณน้องๆนักข่าวที่กรุณา และน่ารักกับพี่เสมอมา พี่ม้า
.
อย่างไรก็ตาม ได้มีการจุดประเด็นของทนาย ชื่อดังนายยอดมงคล ทรัพย์ไพศาลสุข เกี่ยวกับการฟ้องร้องดำเนินคดีในลักษณะดังกล่าว โดยโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Sappisansook Yodmongkhon ให้ความรู้ถึงเรื่องดังสรุปว่า การกระทำความผิดลหุโทษต้องรับโทษในราชอาณาจักร การกระทำของ “ม้า”ไม่สามารถนำมาฟ้องร้องดำเนินคดีที่ศาลไทยได้ ซึ่งได้ระบุข้อกฎหมายอย่างละเอียดว่า…
.
กรณีที่มีเรื่องดาราท่านหนึ่งตบหน้าดาราอีกท่านหนึ่งที่เกาหลีใต้ ซึ่งเมื่อดูจากคลิปเหตุการณ์​แล้ว ไม่ได้รุนแรงอะไร และกระทำเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ทนายมองว่าตามกฎหมายไทย จะเข้าข่ายผิดกฎหมายอาญา​ม.391 ซึ่งเป็นลหุโทษคือ ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งศาลอาจใช้ดุลพินิจในการจำคุกและปรับน้อยกว่านี้ก็ได้ ซึ่งโทษจำคุกให้รอลงอาญาเอาไว้ก็ได้ ตามแต่พฤติการณ์ความผิด และความร้ายแรงของคดี
.
ต่อข้อสงสัยที่ว่าคดีประเภทนี้สามารถนำมาฟ้องที่ศาลไทยได้หรือไม่ ทนายขอตอบว่าไม่ได้ครับ คดีลหุโทษที่กระทำนอกราชอาณาจักร แม้ผู้กระทำและผู้ถูกกระทำจะเป็นคนไทย แต่ก็ไม่ได้เป็นคดีที่สามารถนำมาฟ้องร้องดำเนินคดีในราชอาณาจักรได้ ลองมาดูข้อกฎหมายกันครับ
.
มาตรา 5 ความผิดใดที่การกระทำแม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใดได้กระทำในราชอาณาจักรก็ดี ผลแห่งการกระทำเกิดในราชอาณาจักร โดยผู้กระทำประสงค์ให้ผลนั้นเกิดในราชอาณาจักร หรือโดยลักษณะแห่งการกระทำ ผลที่เกิดขึ้นควรเกิดในราชอาณาจักร หรือย่อมจะเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดในราชอาณาจักรก็ดี ให้ถือว่าความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักร
.
ในกรณีการตระเตรียมการ หรือพยายามกระทำการใดซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด แม้การกระทำนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักร ถ้าหากการกระทำนั้นจะได้กระทำตลอดไปจนถึงขั้นความผิดสำเร็จ ผลจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร ให้ถือว่า การตระเตรียมการหรือพยายามกระทำความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักร
.
มาตรา 6 ความผิดใดที่ได้กระทำในราชอาณาจักรหรือที่ประมวลกฎหมายนี้ถือว่าได้กระทำในราชอาณาจักร แม้การกระทำของผู้เป็นตัวการด้วยกัน ของผู้สนับสนุน หรือของผู้ใช้ให้กระทำความผิดนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักร ก็ให้ถือว่าตัวการ ผู้สนับสนุน หรือผู้ใช้ให้กระทำได้กระทำในราชอาณาจักร
.
มาตรา 7 ผู้ใดกระทำความผิดดังระบุไว้ต่อไปนี้นอกราชอาณาจักรจะต้องรับโทษในราชอาณาจักร คือ
.
(1) ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่บัญญัติไว้
.
ในมาตรา 107 ถึงมาตรา 129
.
(2) ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 240 ถึงมาตรา 249 มาตรา 254 มาตรา 256 มาตรา 257 และมาตรา 266 (3) และ (4)
.
(2 ทวิ)* ความผิดเกี่ยวกับเพศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 282 และ มาตรา 283
.
(3) ความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 339 และความผิดฐานปล้นทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 340 ซึ่งได้กระทำในทะเลหลวง
.
มาตรา 8 ผู้ใดกระทำความผิดนอกราชอาณาจักร และ
.
(ก) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
.
(ข) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
.
ถ้าความผิดนั้นเป็นความผิดดังระบุไว้ต่อไปนี้ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร คือ
.
(1) ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 217 มาตรา 218 มาตรา 221 ถึงมาตรา 223 ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีเกี่ยวกับมาตรา 220 วรรคแรก และมาตรา 224 มาตรา 226 มาตรา 228 ถึงมาตรา 232 มาตรา 237 และมาตรา 233 ถึงมาตรา 236 ทั้งนี้เฉพาะเมื่อเป็นกรณีต้องระวางโทษตามมาตรา 238
.
(2) ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 264 มาตรา 265 มาตรา 266(1) และ (2) มาตรา 268 ทั้งนี้เว้นแต่กรณีเกี่ยวกับ มาตรา 267 และมาตรา 269
.
(3) ความผิดเกี่ยวกับเพศ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 มาตรา 280 และมาตรา 285 ทั้งนี้เฉพาะที่เกี่ยวกับมาตรา 276
.
(4) ความผิดต่อชีวิต ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 288 ถึงมาตรา 290
.
(5) ความผิดต่อร่างกาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 295 ถึงมาตรา 298
.
(6) ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บหรือคนชรา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 306 ถึงมาตรา 308
.
(7) ความผิดต่อเสรีภาพ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 309 มาตรา 310
.
มาตรา 312 ถึงมาตรา 315 และมาตรา 317 ถึงมาตรา 320
.
(8) ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 334 ถึงมาตรา 336
.
(9) ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 337 ถึงมาตรา 340
.
(10) ความผิดฐานฉ้อโกง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 341 ถึงมาตรา 344 มาตรา 346 และมาตรา 347
.
(11) ความผิดฐานยักยอก ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 352 ถึงมาตรา 354
.
(12) ความผิดฐานรับของโจร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 357
.
(13) ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 358 ถึงมาตรา 360
.
ในเมื่อกฎหมายอาญาไม่ได้มีบัญญัติเอาไว้ว่าการกระทำความผิดลหุโทษต้องรับโทษในราชอาณาจักร การกระทำของคุณม้าอรนภา จึงไม่สามารถนำมาฟ้องร้องดำเนินคดีที่ศาลไทยได้ครับ