จากกรณีมีคลิปฉาวจนเดือดร้อนหน่วยงาน “ตำรวจท่องเที่ยว” จนมีการ “สั่งสอบ” นายตำรวจยศ “ร้อยตำรวจเอก” หลังมี “สาวจีน” เปิดเผยรายละเอียดว่าจ่ายเงินเจ็ดพันบาทไทย มีตำรวจนำขบวนบริการ รถไม่ติด แล่นฉิวตลอดเส้นทาง ซึ่งถ้าเป็นจริงก็ถือว่าผิดระเบียบการใช้ “รถนำขบวน” ที่ถูกต้อง โดยกฎการใช้รถนำขบวนของประเทศไทย ผู้ที่ใช้ได้มีดังนี้
.
1.บุคคลสำคัญและนักการเมืองตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ สามารถใช้รถตำรวจนำขบวนได้
.
1.1 กรณีในเขตกรุงเทพมหานคร (ประจำ) มีดังต่อไปนี้
.
1.1.1 ขบวนเสด็จพระราชดำเนิน และขบวนเสด็จของพระบรมวงศานุวงศ์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ และประธานองคมนตรี
.
1.1.2 นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานศาลฎีกา รัฐบุรุษ องคมนตรี
.
1.1.3 สมเด็จพระสังฆราช
.
1.1.4 รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงหรือรัฐมนตรีว่าการทบวง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้นำฝ่ายค้าน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีช่วยว่าการ ประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรของฝ่ายบริหาร
.
1.2 กรณีในเขตกรุงเทพมหานคร (ครั้งคราว) มีดังต่อไปนี้
.
1.2.1 ผู้แทนพระองค์ พระราชอาคันตุกะ ผู้นำทางศาสนาอื่น สมเด็จพระราชาคณะ ประมุขรัฐต่างประเทศ ผู้นำรัฐบาลต่างประเทศ และเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ
.
1.2.2 ข้าราชการประจำตั้งแต่ปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่าขึ้นไป
.
1.2.3 การอนุญาตเป็นครั้งคราวตามข้อ 1.1.1 และข้อ 1.1.2 ผู้บังคับการตำรวจจราจรหรือผู้รักษาราชการแทน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับการตำรวจจราจรเป็นผู้พิจารณาอนุญาต
.
1.2.4 นอกจากผู้มีสิทธิตามข้อ 1.1.1 และ 1.1.2 ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บังคับการตำรวจจราจรหรือผู้รักษาราชการแทน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับการตำรวจจราจรเป็นผู้พิจารณาอนุญาตเป็นครั้งคราวได้
.
1.3 กรณีนอกเขตกรุงเทพมหานคร มีดังต่อไปนี้
.
1.3.1 บุคคลตามข้อ 1.1 (ประจำ)
.
1.3.2 บุคคลตามข้อ 1.2 (ครั้งคราว ยกเว้นตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง นอกเขตกรุงเทพมหานครขอใช้แบบประจำได้)
.
1.3.3 การขออนุญาตตามข้อ 1.3 ผู้บังคับการตำรวจทางหลวงหรือผู้รักษาราชการแทน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับการตำรวจทางหลวงเป็นผู้พิจารณาอนุญาต
.
1.3.4 นอกจากผู้มีสิทธิข้อ 1.3.1 และข้อ 1.3.2 ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้บังคับการตำรวจทางหลวงหรือผู้รักษาราชการแทนหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับการตำรวจทางหลวงเป็นผู้พิจารณาอนุญาต
.
1.4 ข้อยกเว้น
.
1.4.1 ในเขตกรุงเทพมหานคร สำหรับผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการเหล่าทัพ ให้ใช้รถนำขบวนฝ่ายทหารเอง แต่วิธีการใช้รถนำของฝ่ายทหารดังกล่าว ให้ใช้หลักเกณฑ์วิธีการใช้รถนำของฝ่ายตำรวจ เช่น การใช้ไฟสัญญาณแสงแดงวับวาบ เสียงครางครวญ (ไซเรน) และการใช้รถดังกล่าววิ่งบนถนน
.
1.4.2 นอกเขตกรุงเทพมหานคร สำหรับผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการเหล่าทัพ ให้ใช้รถนำขของฝ่ายทหารเอง แต่วิธีการใช้รถนำของฝ่ายทหารดังกล่าว ให้ใช้หลักเกณฑ์วิธีการใช้รถนำขบวนของฝ่ายตำรวจ เช่น การใช้ไฟสัญญาณแสงแดงวับวาบ เสียงครางครวญ (ไซเรน) และการใช้รถดังกล่าววิ่งบนถนน
.
2.บุคคลที่เคยดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งที่สำคัญและเมื่อผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งดังกล่าวแล้วยังคงให้ใช้รถตำรวจนำขบวนได้
.
2.1 กรณีในเขตกรุงเทพมหานคร (ประจำ) คือ ผู้เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเท่านั้น
.
2.2 กรณีนอกเขตกรุงเทพมหานคร (ประจำ) คือ ผู้เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเท่านั้น
.
3.การใช้รถนำขบวนของรัฐมนตรี
.
3.1 รัฐมนตรีควรพิจารณาใช้รถตำรวจนำขบวนตามความจำเป็นและเร่งด่วนตามภารกิจของทางราชการเป็นกรณี ๆ ไป โดยแจ้งให้ทางฝ่ายที่มีหน้าที่จัดรถตำรวจนำขบวนทราบเป็นการล่วงหน้า
.
3.2 การใช้รถตำรวจนำขบวนตามข้อ 3.1 พึงใช้เฉพาะเพื่อการเดินทางไปราชการเท่านั้น ไม่ควรใช้ในกิจส่วนตัว
.

  1. การใช้รถนำขบวนในการรับรองแขกต่างประเทศ
    .
    การรับรองแขกต่างประเทศที่จะสามารถใช้รถนำขบวนได้ ต้องมีตำแหน่งเทียบเท่ากับตำแหน่งของผู้มีสิทธิใช้รถนำขบวน ทั้งการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ (มติคณะรัฐมนตรีเพิ่มเติมเมื่อวันที่23 ธันวาคม 2540)
    .
  2. ประธานวุฒิสภา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นบุคคลสำคัญที่สามารถใช้รถตำรวจนำขบวนได้ ตามข้อ 1.1
    .
    สำหรับกรณีบุคคลทั่วไป มีหลักเกณฑ์ในการขอใช้รถตำรวจนำขบวน ในเงื่อนไข…เส้นทางเป็นอันตราย เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง หรือเส้นทางเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง , มีจำนวนรถในขบวน ได้แก่ รถโดยสารไม่ประจำทาง จำนวน 8 คัน รถยนต์เก๋ง จำนวน 10 คัน หรือรถเก๋งและรถยนต์โดยสารไม่ประจำทางรวมกัน 10 คันขึ้นไป เป็นต้น
    .
    นอกจากนี้ กรณีการร้องขอเป็นครั้งๆ ไปนั้น ถึงแม้จะมีจำนวนรถที่เข้าเกณฑ์การขอรถนำขบวนได้ แต่หากพิจารณาแล้วว่า ไม่เหมาะสม ก็จะไม่ได้รับอนุญาต และโดยทั่วไปการร้องขอจะได้คำตอบรับไม่เกิน 7 วัน ส่วนรถนำขบวนคณะทัศนศึกษา หรือไปทอดกฐิน ผ้าป่า ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกองบังคับการตำรวจทางหลวง จะเลือกที่สำคัญ โดยเฉพาะที่มีเด็กเล็กร่วมอยู่ในขบวนจำนวนมาก
    .
    การขออนุญาตใช้รถตำรวจนำขบวน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพิจารณาหลักเกณฑ์อย่างเคร่งครัด มิใช่ให้ใครก็ได้ใช้สิทธิพิเศษเพื่อความสะดวกสบายส่วนตัว เพราะนอกจากจะส่งผลต่อความปลอดภัยบนท้องถนนแล้ว อาจสร้างภาพลักษณ์ไม่ดีในสายตาประชาชนได้ และรถนำขบวนที่ถูกต้องตามระเบียบ มีเพียงตำรวจจราจรกลาง ตำรวจทางหลวง และตำรวจกองปราบเท่านั้น นอกเหนือจากนี้ทำไม่ได้ ต้องถูกเรียกตรวจ รวมถึงการนำรถขององค์กรการกุศลอื่นๆ หรือหมายถึงรถมูลนิธิต่างๆ มาใช้นำขบวนก็ไม่ได้ เพราะ “รถฉุกเฉิน” ไม่ใช่ “รถนำขบวน” เป็นคนละชนิดกัน
    .

รถนำขบวน #ดราม่า #นำขบวน #ตำรวจ #ตำรวจท่องเที่ยว

ใครใช้ได้บ้าง เปิดระเบียบการใช้ “รถนำขบวน” ปมดราม่า “รตอ.” รับใช้ “สาวจีน” เปย์7พันแล่นฉิวรถไม่ติด
.
จากกรณีมีคลิปฉาวจนเดือดร้อนหน่วยงาน “ตำรวจท่องเที่ยว” จนมีการ “สั่งสอบ” นายตำรวจยศ “ร้อยตำรวจเอก” หลังมี “สาวจีน” เปิดเผยรายละเอียดว่าจ่ายเงินเจ็ดพันบาทไทย มีตำรวจนำขบวนบริการ รถไม่ติด แล่นฉิวตลอดเส้นทาง ซึ่งถ้าเป็นจริงก็ถือว่าผิดระเบียบการใช้ “รถนำขบวน” ที่ถูกต้อง โดยกฎการใช้รถนำขบวนของประเทศไทย ผู้ที่ใช้ได้มีดังนี้

.

.
-ประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ
.
-นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา รองประธานรัฐสภา ประธานศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครองสูงสุด
.
-สมเด็จพระสังฆราช
.
-รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้นำฝ่านค้านในสภาผู้แทนราษฎร และประธานกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
.
-ผู้เคยตำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
.
อย่างไรก็ตาม จะมีการใช้รถตำรวจนำขบวนที่จะต้องได้รับอนุญาตใช้เป็นครั้งๆไป หมายถึงกรณีที่จะต้องร้องขอ สั่งการ และต้องอนุญาตตามระเบียบ ได้แก่
.
-ผู้แทนพระองค์พระราชอาคันตุกะ ประมุขของรัฐต่างประเทศ ผู้นำรัฐบาลต่างประเทศ เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ องคมนตรี ผู้นำทางศาสนาอื่น สมเด็จพระราชาคณะ
.
-ขบวนที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่สุดทางราชการที่จะเดินทางไปปฏิบัติภารกิจสำคัญที่เกรงว่าจะไม่ทันเวลา อาทิ ผู้พิพากษา หัวหน้าศาล ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นต้น
.
-ขบวนที่ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้ตำรวจนำขบวนเพื่อความปลอดภัย เช่น รถนักเรียน ขบวนรถเดินทางไปประกอบศาสนกิจ หรือขบวนที่มีรถหลายคัน เป็นต้น
.
สำหรับกรณีบุคคลทั่วไป มีหลักเกณฑ์ในการขอใช้รถตำรวจนำขบวน ในเงื่อนไข…เส้นทางเป็นอันตราย เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง หรือเส้นทางเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง , มีจำนวนรถในขบวน ได้แก่ รถโดยสารไม่ประจำทาง จำนวน 8 คัน รถยนต์เก๋ง จำนวน 10 คัน หรือรถเก๋งและรถยนต์โดยสารไม่ประจำทางรวมกัน 10 คันขึ้นไป เป็นต้น
.
นอกจากนี้ กรณีการร้องขอเป็นครั้งๆ ไปนั้น ถึงแม้จะมีจำนวนรถที่เข้าเกณฑ์การขอรถนำขบวนได้ แต่หากพิจารณาแล้วว่า ไม่เหมาะสม ก็จะไม่ได้รับอนุญาต และโดยทั่วไปการร้องขอจะได้คำตอบรับไม่เกิน 7 วัน ส่วนรถนำขบวนคณะทัศนศึกษา หรือไปทอดกฐิน ผ้าป่า ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกองบังคับการตำรวจทางหลวง จะเลือกที่สำคัญ โดยเฉพาะที่มีเด็กเล็กร่วมอยู่ในขบวนจำนวนมาก
.
การขออนุญาตใช้รถตำรวจนำขบวน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพิจารณาหลักเกณฑ์อย่างเคร่งครัด มิใช่ให้ใครก็ได้ใช้สิทธิพิเศษเพื่อความสะดวกสบายส่วนตัว เพราะนอกจากจะส่งผลต่อความปลอดภัยบนท้องถนนแล้ว อาจสร้างภาพลักษณ์ไม่ดีในสายตาประชาชนได้ และรถนำขบวนที่ถูกต้องตามระเบียบ มีเพียงตำรวจจราจรกลาง ตำรวจทางหลวง และตำรวจกองปราบเท่านั้น นอกเหนือจากนี้ทำไม่ได้ ต้องถูกเรียกตรวจ รวมถึงการนำรถขององค์กรการกุศลอื่นๆ หรือหมายถึงรถมูลนิธิต่างๆ มาใช้นำขบวนก็ไม่ได้ เพราะ “รถฉุกเฉิน” ไม่ใช่ “รถนำขบวน” เป็นคนละชนิดกัน