ทีม Himitsukichi จากโรงเรียนอัสสัมชัญ ได้รับรางวัล ชนะเลิศ CANSAT-ROCKET จากการแข่งขัน Thailand Cansat Rocket Competition 2022 จัดโดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ซึ่งการแข่งขันเป็นการแข่งขันของนักเรียนระดับชั้น ม.ปลาย นำเสนอแนวคิด ทฤษฎี และประดิษฐ์ผลงาน โดยให้ออกแบบและประดิษฐ์ดาวเทียมขนาดเล็ก (Cansat) และจรวดเชื้อเพลิงน้ำตาล (Rocket) มีภารกิจให้ทำ
.
การแข่งขันในรอบแรก จะเป็นการส่งโครงการเพื่อให้คณะกรรมการพิจารณา ระหว่างวันที่ 19-23 กุมภาพันธ์ 2565 ผ่านระบบออนไลน์ และคัดเลือกโครงการจาก 50 ทีม เพื่อคัดเลือกผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 15 ทีม ซึ่ง ทีมโรงเรียนอัสสัมชัญ จากชมรม Space AC ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ มาทั้งสิ้น 4 ทีม ซึ่งการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ จะต้องปฏิบัตภารกิจ 6 ข้อ ได้แก่ ภารกิจที่ต้องติดต่อสถานีภาคพื้นดินได้, บอกตำแหน่งตัวเองได้, บอกค่าอื่นได้, ทำภารกิจบนอากาศไม่น้อยกว่า 90 วินาที, วัดความเร่งตอนถึงพื้นได้ และหยุดใกล้กับจุดปล่อยได้มากที่สุด
.
ผลการแข่งขัน ทีม Himitsukichi โรงเรียนอัสสัมชัญ ได้รับรางวัลชนะเลิศ CANSAT-ROCKET และได้รางวัล Cansat Mission Award (ภารกิจของ CanSat ที่มีความน่าสนใจมากที่สุด) รางวัล The Best CanSat Award (CanSat ที่ดีที่สุด ภารกิจสมบูรณ์ที่สุด) และรางวัล The best Rocket Award (Rocket ที่ดีที่สุด ทั้งระบบ deployment, Recovery ความสมบูรณ์ของจรวดและภารกิจจรวด)
สมาชิกของทีม Himitsukichi ประกอบด้วย

  1. กิตติภณ อมรประเสริฐกิจ
  2. นุชิต วิจิตรกิจจา
  3. กฤษฎา สิงหะคเชนทร์
  4. ปิติภูมิ อาชาปราโมทย์
  5. ฆฤณ กวีวงศ์สุนทร
    .
    ส่วนทีม Nuage จาก โรงเรียนอัสสัมชัญ ได้รับรางวัล Aerodynamics design Award (Rocket ที่มีการออกแบบตามหลัก Aerodynamic และขึ้นไปสูงที่สุด ได้ความสูง 577 เมตร)
    สมาชิกของทีม Nuage ประกอบด้วย
  6. ธรรศวริทธิ์ เครือคล้าย
  7. ชินกฤต​ เหล่า​กิตติ​ชัย
  8. อัคคนิรุทธิ์ ปานเดช
  9. เวธน์วศิน ศิริรัตน์อัสดร
  10. รณชัช ขวัญกิจธนรัช
    คุณครูผู้ควบคุมทีมจากโรงเรียนอัสสัมชัญ ได้แก่ มาสเตอร์พชร ภูมิประเทศ และ มาสเตอร์ณัฐกิตติ์ ขวัญกิจพิศาล
    .
    ซึ่งสมาชิก 5 คนของทีม Himitsukichi ได้แก่ ปิติภูมิ อาชาปราโมทย์, ธรรศวริทธิ์ เครือคล้าย, นุชิต วิจิตรกิจจา, กิตติภณ อมรประเสริฐกิจ, ฆฤณ กวีวงศ์สุนทร, อัคคนิรุทธิ์ ปานเดช, กฤษฎา สิงหะคเชนทร์ กำลังจะเข้าแข่งขัน รายการ USA Cansat Competition 2022 รอบสุดท้าย CDR (Critical Design Review) ช่วงเดือนมิถุนายน 2565 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในนามทีม Descondere พร้อมกับ ทีม Gravity จากโรงเรียนอัสสัมชัญ ที่รุ่นพี่จากอัสสัมชัญ เคยได้รับรางวัลอันดับที่ 3 ของโลก (ทีมนักเรียนระดับมัธยมโรงเรียนเดียว) จากรายการนี้มาเมื่อปีที่แล้ว
    .
    ทั้งหมดนี้ได้รับการสนับสนุนจาก ภราดา ดร.อาวุธ ศิลาเกษ ผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญ ภราดาคฑาวุธ สิทธิโชคสกุล ผู้จัดการโรงเรียนอัสสัมชัญ คณาจารย์ที่ปรึกษาจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, ศิษย์เก่าอัสสัมชัญ, ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ทำให้นักเรียนกลุ่มนี้ได้สร้างความฝันด้านเทคโนโลยีอวกาศ และเทคโนโลยีดาวเทียม และขอกำลังใจให้เด็กไทยจากโรงเรียนอัสสัมชัญ คว้าแชมป์โลกกลับมาให้ได้