การใช้พลาสม่ารักษาโรคโควิด-19 เป็นวิธีการรักษาโควิด-19 ที่ใช้หลายประเทศ รวมถึงไทย ใช้กันมากว่า 2 ปีที่โควิดระบาดแล้ว แต่จู่ๆ WHO ก็ออกมาประกาศว่า การใช้พลาสมาจากเลือดของคนไข้ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หายป่วยแล้ว ไม่ควรใช้กับผู้ติดเชื้อที่มีอาการเล็กน้อยหรือปานกลาง และกระทั่งกับผู้มีอาการหนัก ก็ควรใช้เฉพาะในการทดลองทางคลินิก
.
ที่ผ่านมา วิธี “คอนวาเลสเซนต์ พลาสมา” (Convalescent Plasma) หรือพลาสมาจากเลือดที่มีโปรตีนภูมิคุ้มกัน แสดงสัญญาณในด้านดีในเบื้องต้น ครั้งที่ถ่ายพลาสมาแก่ผู้ป่วยโควิด-19
.
แต่อย่างไรก็ตามในคำแนะนำที่เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ British Medical Journal องค์การอนามัยโลกระบุว่า “จากหลักฐานในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่ามันไม่ได้เพิ่มโอกาสอยู่รอดหรือลดความจำเป็นของการใช้เครื่องช่วยหายใจ มีค่าใช้จ่ายสูง และใช้เวลาดูแลรักษานาน”
.
องค์การอนามัยโลก “แนะนำอย่างหนักแน่น” คัดค้านการใช้พลาสมาของเลือดในคนที่ไม่ได้ติดเชื้อโควิด-19 อาการรุนแรง และบอกว่าแม้กระทั่งคนไข้ที่มีอาการรุนแรงและฉุกเฉิน ควรใช้วิธีการรักษานี้เฉพาะเป็นส่วนหนึ่งในการทดลองทางคลินิกเท่านั้น
.
คอนวาเลสเซนต์ พลาสมา ส่วนของเหลวของโลหิตจากคนไข้โควิด-19 ที่หายป่วยแล้ว ซึ่งมีแอนติบอดีที่ร่างกายผลิตออกมาหลังจากติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
.
มันเป็นหนึ่งในหลากหลายวิธีการรักษาที่ถูกนำมาใช้และพิจารณาตรวจสอบความเป็นไปได้ในช่วงต้นๆของโรคระบาดใหญ่ แต่ผลการทดลองทางคลินิกพบว่าประโยชน์ของมันนั้นมีอย่างจำกัด
.
องค์การอนามัยโลกระบุว่าคำแนะนำล่าสุดนี้ของพวกเขา อยู่บนพื้นฐานการทดลองทางคลินิก 16 การทดลอง ประกอบด้วยคนไข้ที่ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งอาการไม่รุนแรง รุนแรงและวิกฤต รวมทั้งสิ้น 16,236 คน