ประชาธิปไตยในโรงเรียน! กระทรวงศึกษาไฟเขียวออกระเบียบทรงผมนักเรียนใหม่ ให้อำนาจสถานศึกษากำหนดเอง จะสั้นหรือไว้ยาวก็ได้ตามความเหมาะสม แต่ยังห้ามดัด ย้อมสี หรือไว้หนวดเครา
.
น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตามที่มีเสียงเรียกร้องให้มีการแก้ไขปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563 มาอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญการลงโทษเรื่องทรงผมได้ส่งผลถึงร่างกายและจิตใจของนักเรียน ศธ.จึงได้มีหนังสือหารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรณีแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียน ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 8) ได้ให้ความเห็นว่า รมว.ศธ.ในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดอาจอาศัยอำนาจตามมาตรา 12 ประกอบกับมาตรา 39 (1) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 กำหนดเป็นนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดนำไปปฏิบัติได้
.
ศธ. จึงได้มีหนังสือหารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ถึงแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียน ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 8) ได้ให้ความเห็นว่า รมว.ศธ. ในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดอาจอาศัยอำนาจตามมาตรา 12 ประกอบกับมาตรา 39 (1) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 กำหนดเป็นนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดนำไปปฏิบัติได้
.
ดังนั้น เมื่อวันที่ 16 มกราคม ที่ผ่านมา ตนจึงได้ลงนามในระเบียบ ศธ. ยกเลิกระเบียบการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563 และเสนอสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วออกเป็นหนังสือสั่งการหรือหนังสือเวียน กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนหรือนักศึกษาไว้อย่างกว้าง ๆ เพื่อให้หน่วยงานในสังกัดที่เป็นผู้กำกับดูแลสถานศึกษา นำหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวไปกำหนดเป็นระเบียบหรือข้อบังคับของสถานศึกษาแต่ละแห่งเอง
.
สำหรับร่างแนวนโยบายเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนของสถานศึกษา ดังนี้
.

  1. การไว้ทรงผมของนักเรียนของสถานศึกษาในสังกัด ศธ. และสถานศึกษาในกำกับดูแลของ ศธ. จะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ โดยสถานศึกษาอาจกำหนดลักษณะทรงผมได้ตามพันธกิจ บริบท และความเหมาะสมของแต่ละสถานศึกษา
    .
  2. สถานศึกษาในสังกัด ศธ. และสถานศึกษาในกำกับดูแลของ ศธ. อาจดำเนินการกำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับไว้ทรงผมของนักเรียนได้
    .
    การวางระเบียบหรือข้อบังคับของสถานศึกษา
    .
    ควรระบุบทอาศัยอำนาจของกฎหมายเฉพาะมาตรา 39 (1) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น นักเรียน, คณะกรรมการสภานักเรียน, คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง หรือ ผู้แทนผู้ปกครอง, ชุมชนท้องถิ่น, บุคคลหรือกลุ่มบุคคลอื่นใดที่หัวหน้าสถานศึกษาเห็นสมควร เป็นต้น และเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา หรือคณะกรรมการบริหารโรงเรียนแล้วแต่กรณี ก่อนการประกาศใช้
    .